7/17/2552

คุณจะใช้ชีวิตอย่างไรในศตวรรษที่ 21
สังคมไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงตามบริบทของโลกที่มีลักษณะขยายตัวทางเทคโนโลยี่อุตสาหกรรมบริการ ประกอบกับสภาพแวดล้อมทางการเมืองในระดับโลกได้ลดความตึงเครียดอันเกิดจากขั้วทางการเมืองได้กลายเป็นกุญแจสำคัญเปิดประตูประเทศต่างๆให้หันมาแข่งขันทางการค้าแทนการสะสมยุทโธปกรณ์ เพื่อสร้างอำนาจทางการทหารและการเมือง พร้อมกันนั้นได้สร้างสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจของโลกแบบใหม่ ในศตวรรษที่ 21 นี้ประชากรถือว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในการแข่งขันในโลกธุรกรรมสมัยใหม่ ทั้งนี้เพราะโลกสมัยใหม่ได้เปลี่ยนฐานการผลิตจากทรัพยากรทางธรรมชาติไปเป็นประชากรแทน ประชากรในฐานะเป็นฐานการผลิตเพราะจะต้องใช้เทคโนโลยี่และวิทยาการใหม่ๆบรรดาที่มีอยู่ในปัจจุบันกาล เพื่อจัดการให้เกิดให้เกิดมูลค่าสูงสุด ดังนั้นสิ่งแรกที่ควรรีบเร่งคือจะต้องพัฒนาคนรุ่นใหม่ให้มีศักยภาพอันเป็นสากล และเป็นคนดีในฐานะเป็นทุนทางสังคมพื่อยกระดับประเทศเราให้อยู่ในระดับสากล นี่คือรูปลักษณ์แห่งการแข่งขันของสังคมโลกในศตวรรษที่ 21 ศตวรรษที่ประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายเฉกเช่นประเทศไทยถูกผนวกดึงเข้าสู่เวทีแห่งการแข่งขัน เพื่อช่วงชิงครอบครองทรัพยากรโดยมีความเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจเป็นเดิมพัน ศตวรรษที่ 21 มีแนวโน้มเป็นสังคมอุตสาหกรรมสังคมที่มีการแข่งขันเพื่อชิงความได้เปรียบในเชิงธุรกิจการค้าสูง ปรากฎทั่วในทุกอนุภูมิภาคของโลก ในเวทีแห่งการแข่งขันของโลกปัจจุบันมีปัจจัยอยู่หลายอย่างเป็นตัวแปรชี้ชัยชนะ ไม่ว่าจะเป็นความพร้อมในการบริหารจัดการ เงินทุน เทคโนโลยี่ที่มนุษย์ได้เอามาเป็นเครื่องมือในการนำทรัพยากรที่มีอยู่มารับใช้ชีวิตของตน อนึ่งประชากรถือว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดของกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมอย่างแท้จริงในอันที่จะชี้ขาดการแข่งขันในยุคแห่งการเร่งรัดและการทวีคูณของการแลกเปลี่ยนแห่งศตวรรษปัจจุบันอย่างแท้จริง ซึ่งกล่าวได้ว่า การแข่งขันในศตวรรษที่ 21 นี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพของประชากรในชาติ ประเด็นนี้หากจะกลับมาทบทวนดูประเทศไทยโดยลักษณะทางภูมิศาสตร์แล้วนับว่ามีความพร้อมในทำเลที่ตั้งที่มีศักยภาพพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและประตูสู่ภูมิภาคนี้ มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยรัพยากรธรรมชาติและมีพื้นฐานทางวัฒนธรรมที่มีลักษณะยืดหยุ่นสูงเอื้อต่อการลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติ แต่เราไม่สามารถอาศัยจุดแข็งดังกล่าวมาเป็นข้อได้เปรียบเท่าที่ควรเพราะมีเงื้อนไขที่เป็นอุปสรรคหลายประการ เช่นความด้อยทางด้านเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ ความไร้เสถียรภาพทางการเมืองที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องจากอดีตสู่ปัจจุบัน รวมทั้งระบบการศึกษาในฐานะเป็นกระบวนสร้างคุณภาพของประชากรสู่ระดับสากลที่ควรจะเป็น เมื่อเรายังไม่พร้อมตามมาตรฐานสากลที่กำหนดไว้แต่เราเปิดประเทศสู่การแข่งขันอย่างสากล ตรงนี้จึงทำให้ประเทศเราประสบปัญหาจากระบบสากล ดังนั้นสิ่งที่จำเป็นอันดับต้น ๆ คือการปรับฐานคิดที่ยังอ่อนล้าของประชากรให้เข้มแข็งโดยการเรียนรู้อย่างลึกซึ้งในความเป็นไทย และเรียนรู้ให้เท่าทันสังคมโลกอย่างระมัดระวังควบคูกับการยกระดับสู่สังคมข้อมูลข่าวสาร (Information Society ) การที่เราจะก้าวสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ได้นั้นจะต้องกระทำในหลายมิติอดีต ในปัจจุบันสังคมโลกอาศัยความก้าวหน้าทางเทคโลยี่เป็นกุญแจเปิดโลกกว้างใบนี้ให้เชื่อมโยง ถ่ายเทข้อมูลวิทยาการต่าง ๆ จากที่หนึ่งของสุดขอบโลกไปยังอีกที่หนึ่งของโลกใบนี้ภายในระยะเวลาอันสั้น โฉมหน้าของโลกในศตวรรษที่ 21นี้สะท้อนออกมาสู่การปรับตัวภายใต้เงื่อนใขการเปลี่ยนแปลงของโลกดังนี้กล่าวคือ
1. สภาพแวดล้อมทางการเมือง
2. สภาพแวดล้อมเศรษฐกิจระดับโลก
3. สภาพแวดล้อมทางด้านเทคโนโลยี เทคโนโลยีในศตวรรษที่ 21 นี้กล่าวคือ
เทคโนโลยีด้านอวกาศ เทคโนโลยีด้านสารสนเทศ เทคโนโลยีด้านชีวพันธุกรรม

4. สภาพแวดล้อมทางด้านสังคม
นับแต่นี้ไปการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นับว่าเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งอันเนื่องจากปัญหากำลังคนโดยเฉพาะการขาดแคลนกำลังคนที่มีฝีมือระดับกลางและระดับสูงเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่ ปัจจัยทรัพยากรมนุษย์จึงกลายเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งในยุคโลกาภิวัตน์แห่งการแข่งขันทั้งนี้เพราะขีดความสามารถของมนุษย์ยุคใหม่คือ ทรัพยากรความรู้ ที่มิใช่เป็นเพียงแต่ความรู้เพื่อความรู้เท่านั้นแต่ยังต้องเป็นความรู้ในเชิงประยุกต์ที่สามารถสั่งสมเป็นทักษะความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านชั้นสูงในแต่ละสาขา ซึงสัมพันธ์สอดคล้องไปกับการพัฒนาอุตสาหกรรมเฉพาะแต่ละด้านของประเทศ นอกจากทรัพยากรความรู้แล้ว มนุษย์ยุคใหม่ควรจะต้องมีความสามารถในเชิงริเริ่มสร้างสรรค์ รวมทั้งการมีมาตรฐานทางจริยธรรมในการทำงานด้วยองค์ประกอบเหล่านี้ประกอบกันเป็นปัจจัยที่ก้าวหน้า ที่แตกต่างไปจากปัจจัยพื้นฐานดั่งเดิม อันได้แก่ แรงงานไร้ทักษะ การพัฒนาที่สำคัญจากการมุ่งเน้นความเจริยเติบโตและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทสมาเป็น การพัฒนาคนมากขึ้น
สังคมโลกในศตวรรษนี้ได้ถูกขับเคลื่อนตามสภาพแวดล้อมในระดับโลกมากมาย เราจำเป็นต้องยกระดับประชากรของเราให้ได้มาตรฐานสากล เพราะโลกของธุรกิจปัจจุบันที่สังคมเราเข้าไปเกี่ยวข้องทั้งในบ้านเราหรือย้ายฐานการผลิตไปต่างประเทศ สิ่งแรกที่รีบเร่งพัฒนาคนรุ่นใหม่ คือ ศักยภาพที่เป็นสากล (Global Competency) ข้อนี้การที่ประเทศเราเปิดประตูทางการค้า มีกระแสการไหลเวียนของการลงทุนมายังประเทศเรา กำลังคนรุ่นใหม่จะต้องพัฒนาให้มีความพร้อมระดับสากลในเรื่องการใช้ภาษาที่เป็นสากล ในที่นี้หมายถึงภาษาอังกฤษ การมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในขณะเดียวกันควรมีความรู้สังคมเรา สังคมเขา เพื่อสามารถปรับรับให้เหมาะสมกับสภาพสังคมเรา
ในส่วนของระบบการศึกษาจะต้องสร้างผู้ที่จะจบการศึกษามีสมรรถภาพในเรื่อง
1. การใช้คอมพิวเตอร์ 2. การใช้ภาษาต่างประเทศ 3. แนววิธีที่ทราบการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเข้าใจในเรื่องชนชาติ 4. การวิเคราะห์ข้อมูล 5. แนวทางการบริหารกิจการของตัวเอง
เนื่องจากสังคมโลกในปัจจุบันเป็นสังคมแห่งคมรู้ที่ไร้พรมแดน ทำให้ศักยภาพที่จะประสบความสำเร็จมีพอๆ กับศักยภาพที่จะล้มเหลว แนวโน้มข้างต้นจะเป็นผลให้ผู้ที่มีความรู้ทางเทคโนโลยี่เป็นผู้มีบทบาทเด่นและแนวโน้มที่จะมีการเปลี่ยนแปลงจากที่เคยใช้แรงงานเป็นฐานหลักในการผลิตการใช้เทคโนโลยี่การอุตสาหกรรมและการบริการ